☀️เนื่องจากช่วงนี้สภาพอากาศร้อน ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือทำงานกลางแจ้งโดยออกแรงมากเป็นระยะเวลานาน เช่น งานก่อสร้าง เกษตรกร ทำงานหน้าเตาหลอม เป็นต้น มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากความร้อน (Heat-related illness) หากรุนแรงอาจเป็นโรคลมแดด หรือ Heat stroke ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้
นายจ้างจึงควรมีแนวทางป้องกันการเกิดภาวะดังกล่าว เช่น
– 👨⚕️ประเมินสุขภาพกลุ่มเสี่ยงก่อนเข้าทำงานในที่ร้อน หากลูกจ้างมีโรคประจำตัว (ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, ไทรอยด์, โรคหัวใจ , โรคไต, โรคผิวหนังที่เป็นบริเวณกว้าง) อายุมาก หรือรับประทานยาที่มีผลต่อการปรับอุณหภูมิของร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงการให้ทำงานในที่ร้อน เนืองจากมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคจากความร้อน
– ☂️🥤จัดหาที่พักร้อน (Shade) และ น้ำดื่ม หรือเกลือแร่ (Hydration and electrolyte replacement)ให้เพียงพอแก่ลูกจ้าง และแนะนำให้ลูกจ้างดื่มน้ำเป็นระยะๆ ขณะทำงาน
🕜จัดให้มีระยะทำงาน-ระยะพัก ให้เหมาะสม (Work-rest period)
🚨 หากลูกจ้างไม่เคยทำงานในที่มาก่อน ต้องให้มีระยะปรับตัว (Acclimatization) เช่น อาจทำงานในวันแรกระยะเวลา 50% ของงานทั้งหมด
👬 แนะนำให้ลูกจ้างสวมเสื้อผ้าเบาบาง ระบายเหงื่อได้ง่าย และสีโทนอ่อน
⛱️ ทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูง หากทำงานกลางแจ้ง รวมถึงสวมแว่นตากันแดด
✅️ อบรมให้ความรู้ลูกจ้าง ให้การสังเกตอาการตนเอง และเพื่อนร่วมงาน รวมถึงวิธีการปฐมพยาบาล
ด้วยความปรารถนาดี จากกลุ่มงานอาชีวเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา (044-232026-คลินิกอาชีวเวชกรรม)